วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Orarick Sriwong invited you to Dropbox

Orarick Sriwong wants you to use Dropbox to sync and share files online and across computers.

Get started here.

- The Dropbox Team

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปรัชญาของมด


  
 
   
    ปรัชญาที่ 1 มดไม่เคยละความพยายาม
หากมันมุ่งหน้าไปทางทิศใด แล้วเกิดอุปสรรค = ถูกปิดกั้นหนทาง
มันจะพยายามหาทางเดินทางอื่น มันจะได้ขึ้นไต่ลงไต่ไปรอบๆมันจะมองหาหนทางอื่นเสมอ

ข้อคิด

จงอย่าละความพยายามในการหาหนทางไปสู่สิ่งที่หมายมาด
   
     
   
  ปรัชญาที่ 2   มดคิดถึงฤดูหนาวตลอดฤดูร้อน
มันไม่เคยรักสบายจนคิดเพียงว่าคิมหันต์ฤดู จะคงอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น มันจึงพยายามเก็บสะสมเสบียงไว้สำหรับเหมันต์ ตลอดฤดูคิมหันต์หรรษา

ข้อคิด

จงตะหนักถึงความเป็นจริง และเตรียมรับกับเหตุการณ์ในอนาคต
   
   
     
       
     
   
                       




  ปรัชญาที่ 3   มดคิดถึงฤดูร้อนตลอดฤดูหนาว
ท่ามกลางความหนาวเหน็บแห่งเหมันห์ มันจะเตือนตัวเองว่า"ความลำบากจะอยู่เพียงไม่นาน แล้วเราก็จะพ้นจากสภาวะเช่นนี้" เมื่อวันที่แสงแห่งความอบอุ่นแรกสาดส่อง มันจะออกมาเริงร่า หากอากาศกลับกลายเป็นหนาวอีกครั้ง มันจะเข้าไปในโพรงอีกครั้ง และออกมารับความอบอุ่นในวันอากาศดีโดยทันใด


 


  ข้อคิด
จงมองทุกสิ่งในเชิงบวกตลอดเวลา

ปรัชญาที่
4   ทุ่มเททุกสิ่งเท่าที่สามารถ
มดสามารถเก็บเกี่ยวเสบียงตลอดฤดูร้อนเพื่อเตรียมพร้อมฤดูหนาวให้มากเท่าที่มันจะทำได้

ข้อคิด

จงพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างเต็มกำลัง




   
 

  สรุป

1)
อย่ายอมแพ้

2)
มองไปข้างหน้า

3)
มองโลกในแง่ดี

4)
ทำเต็มความสามารถ

   
 

                   
     
       
       
     
   
   
     
   
   



   
 
       
     
 
   




 

 
 
 
 
 
 


วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Re: No Plastic Fantastic PRoject

เอกสารนี้ถูกนำเข้ามายัง Google Documents ในชื่อของคุณ:
http://docs.google.com/Doc?id=dcgbc9mf_300wmdh2phc&invite=
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ทีม Google Documents

No Plastic Fantastic PRoject

ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน

          ถึงเวลานี้ คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่า ไม่รู้จักปรากฏการณ์สำคัญของโลกที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)

          ปีที่ผ่านมา ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยต้องเผชิญกับอากาศหนาวจัดกว่าหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาคกลางประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนักอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน ส่วนภาคใต้ก็เจอกับพายุที่รุนแรงขึ้น ปัญหาทะเลกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาลึกมากขึ้น  คงไม่ต้องย้ำกันอีกรอบ ตามที่วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์แห่งนิตยสารคดี บอกว่า ภาวะโลกร้อนได้มาเคาะประตูบ้านของเราแล้ว...

          เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กว่า ๒,๕๐๐ คน จาก ๑๓๐ ประเทศ ได้พบข้อสรุปอย่างชัดเจนแล้วว่า สาเหตุของปัญหาโลกร้อน นั้น ร้อยละ ๙๐ มาจากการที่ มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไป จนความร้อนจากพื้นโลกไม่สามารถสะท้อนออกนอกโลกได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงไปทั่วโลก

          ดังนั้นภารกิจที่เหล่ามนุษยชาติต้องรับผิดชอบร่วมกันก็คือ ลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงและปล่อยก๊าซคารบอร์ไดออกไซด์ลงให้มากที่สุด เพื่อต่อเวลาให้กับโลกใบนี้ให้ยาวยิ่งขึ้น

          ถุงพลาสติกที่เราใช้รองรับสินและอาหาร ผลิตจากเม็ดพลาสติก จากอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ที่ใช้เพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบการผลิตถุงพลาสติกสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก และด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อนำมาใช้จะมีอายุการใช้งานสั้น และส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะถุงขนาดเล็กและบางถุงที่ผ่านการใช้งานแล้วและถูกนำไปทิ้งจะเป็นภาระในการเก็บขน และจัดการเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะที่เบาบาง และมีปริมาณมากปะปนกับมูลฝอยประเภทอื่นๆ จะทำให้การย่อยสลายมูลฝอย เป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น

          ถ้าถามว่า “ลดใช้ถุงพลาสติกเกี่ยวอะไรกับโลกร้อน” และเราคนเดียว ลด หรือ ไม่ใช้ ถุงพลาสติก จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้? คำตอบคือ ได้

          ต้นเหตุสำคัญคือ ร้อยละ 90 มาจากมนุษย์ สร้างกิจกรรมเผาผลาญเชื้อเพลิง ส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ – CO2 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินความสามารถของโลกที่จะสะท้อนความร้อนจากพื้นโลกออกไปนอกโลกได้ทัน ผลคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่เป็นผลกระทบระดับมหันตภัยทั้งสิ้น เช่น

          • พายุหมุนที่เกิดถี่ และรุนแรงมากขึ้น
          • ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก
          • สภาพอากาศที่แปรปรวน จนยากจะคาดเดา
          • ฤดูกาล และวงจรการเกษตรเปลี่ยนแปลง
          • โรคระบาดใหม่ๆ เป็นต้น

          ความเกี่ยวโยงระหว่างการใช้ถุงพลาสติกกับโลกร้อนคือ ยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไหร่ ปริมาณ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก จากการเผาไหม้ในกิจกรรมการผลิต และเผาทำลายถุงพลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหามากมายจากมลพิษ

          ถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน และการใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี

          ทั้งนี้ ปัจจุบัน (กันยายน 2550 ) กทม.ต้องเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน เป็นถุงพลาสติกถึงร้อยละ 21 หรือ 1,800 ตัน/วัน ดังนั้น หากเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเก็บขยะได้วันละ 1.78 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 650 ล้านบาท/ปี


ลดใช้ถุงพลาสติก ลดภาวะโลกร้อน

[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

หัวข้อ
ความจริงเกี่ยวกับพลาสติก 
          • ถุงพลาสติกเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดวิเศษ น้ำหนักเบาในยุค 1960 ซึ่งพัฒนาขยายผลมาจาก เซลลูลอยด์ ที่สังเคราะห์ขึ้นจากความต้องการหาวัสดุทดแทนงาช้าง ในการผลิตลูกบิลเลียดในช่วงปี 1868
          • ถุงพลาสติกเป็นของใช้ยอดนิยมของคนทั่วโลก ในปัจจุบัน มียอดการใช้ 5 แสนล้าน ถึงล้านล้านใบต่อปี หรือเฉลี่ยทุก 1 นาทีมีการใช้ถุงหิ้วอย่างน้อย 1 ล้านใบ
          • และจำนวน 5 แสนล้านใบนี้ ต้องใช้พลังงานการผลิตจากน้ำมันจำนวน 9 พันล้านลิตร เทียบให้ชัดคือ พลังงานที่ใช้ผลิตถุงพลาสติก 8.7 ใบ สามารถเปลี่ยนไปเป็นน้ำมันให้รถวิ่งได้ไกล 1 กิโลเมตร
          • ถุงพลาสติกเป็นของใช้ที่มีอายุการใช้งานสั้น พร้อมเป็นขยะทันทีหลังการใช้ แต่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450 ปีเป็นอย่างน้อย
          • ถุงพลาสติกหูหิ้ว แม้จะเป็นชนิดที่นำไปรีไซเคิ้ลได้ แต่ปัจจุบันมีการนำกลับไปรีไซเคิ้ลน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่ผลิตออกไป จากการสำรวจพบว่าทุกตารางกิโลเมตรทั่วโลกจะมีขยะพลาสติกราว 46,000 ชิ้น
          • ทุกปีผู้คนจับจ่ายซื้อของทั่วโลกใช้ถุงพลาสติก 10,000 ล้านใบต่อปี ซึ่งจะต้อง ใช้เวลา ย่อยสลาย นานกว่า 1,000 ปี
          • ถุงพลาสติก 1.6 ล้านใบ นำไปเรียงเป็นเส้นรอบวงโลกได้ 1 รอบ
          • ทุก 1 ตารางไมล์ จะพบถุงพลาสติก 46,000 ใบลอยในมหาสมุทร ซึ่งส่งผลให้แต่ละปีมีนกทะเลตาย 1 ล้านตัว และสัตว์ทะเลอื่นๆจำนวน 100,000 ตัว และปลาอีกนับไม่ถ้วน
          • แต่ละปีมีเต่าทะเล และสัตว์น้ำจำนวนมาก ตายจากการกินพลาสติก เพราะคิดว่าเป็นอาหาร เช่น แมงกะพรุน
          • ถุงพลาสติกที่คนไทยใช้ในหนึ่งปีนั้น ถ้าเอามาต่อกัน จะได้เป็นระยะทางเท่ากับ เดินทางไปกลับดวงจันทร์ 7 รอบเลยทีเดียว


ปัญหาจากการใช้ถุงพลาสติก 

          ประโยชน์เพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาสั้นๆ ของถุงพลาสติกได้ทำให้เกิดโทษต่อระบบนิเวศและชีวิตของผู้บริโภคต่อเนื่อง กว้างขวางและยาวนานในแต่ละสัปดาห์ คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง หรือมากกว่า 5000 ล้านถุงในแต่ละปี การนำถุงพลาสติกไปใช้ซ้ำอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนอย่างมากโดยเฉพาะการใช้ถุงพลาสติกใส่มูลฝอยจะทำให้เกิดการแปรสภาพมูลฝอยในภาวะที่ขาดอากาศเป็นผลให้เกิดก๊าซชีวภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจก และทำให้โลกร้อน

ถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
  •  การเสื่อมโทรมของดิน 
  •  การเสื่อมคุณภาพของน้ำ 
  •  เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำและบนบก 
  •  เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดชีวภาพที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 
  •  ให้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารก่อมะเร็งเมื่อถูกเผา 
  •  ทำให้เกิดการอุดตันในทางระบายน้ำ ปละทำให้เกิดน้ำท่วม 
  •  เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ 
  •  เป็นต้นเหตุของการเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของพาหะนำโรคและการแพร่ระบาดของโรคร้ายหลายชนิด 
  •  เป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุของการเดินทางทั้งทางบก และทางน้ำและทางอากาศ

          การผลิตและนำออกมาใช้มีปริมาณมากและต่อเนื่อง ขณะที่การย่อยสลายต้องใช้เวลายาวนานทำให้เกิดการสะสมปริมาณถุงพลาสติกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อลดและป้องกันปัญหาหลากหลายที่เกิดจากถุงพลาสติก จำเป็นต้องลดการใช้ ด้วยการใช้ทางเลือกในการรองรับและขนส่งสินค้าและอาหาร แทนการใช้ถุงพลาสติก เช่นการใช้ถุงผ้า หรือวัสดุอื่นที่ย่อยสลายได้ และสามารถใช้ได้ยาวนาน ผู้บริโภคจะสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย และลด-แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ถุงผ้า



การลดการใช้ถุงพาสติก 

          ถุงพลาสติกเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากเพราะย่อยสลายได้ยาก ใช้เวลาเป็นร้อยๆปี วิธีการกำจัดถุงพลาสติกนั้น มีอยู่ 2 วิธี คือ

          1. ฝัง : การฝังต้องใช้พื้นที่เยอะและพื้นที่นั้นก็จะทำการเกษตรไม่ได้อีกเลย เพราะ พลาสติกไม่ย่ิอยสลาย

          2. เผา : การเผานี้ ถ้าเผาไหมไม่สมบูรณ์ ก็จะมีก๊าซพิษออกมาด้วย แต่แม้ว่าจะเผาไหมสมบูรณ์ก็จะมีก็าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นก็าซเรือนกระจก มีคุณสมบัติอมความร้อน ไปปกครุมอยู่รอบโลก ทำให้โลกร้อนขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการเผาไหมก็ไม่มีทางที่จะสมบูรณ์ 100% ได้ ทำให้มีทั้งก๊าซพิษ และก๊าซเรือนกระจก

          จะกำจัดอย่างไร อย่างไรก็เป็นผลเสียทั้งนั้น พวกเราต้องช่วยกัน ลด งด ใช้ถุงพลาสติก โดยการ

          1. นำถุงผ้า หรือพาชนะไปใส่ของแทน แล้วก็พูดว่า "ไม่ต้องถุงก็ได้"  ตัวอย่างเช่น จะไปตลาดก็เอากระเป๋าผ้าและกล่องใส่อาหาร ไปใส่ของแทน ไปซื้อกับข้าวก็เอาปิ่นโตไปแทน ไม่ต้องเอาถุงพลาสติกทุกชนิดนะจ๊ะ

          2. ใช้ถุงกระดาษ อย่างเมืองนอกเวลาเราดูหนัง เขาซื้อของกลับมาบ้าน อุ้มถุงกระดาษเข้ามา ก็เพราะเขาไม่ต้องการใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายยากนั้นเอง ยังไงใช้ถุงกระดาษก็ยังดีกว่านะ อันนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากพ่อค้า แม่ค้า และห้างใหญ่ๆด้วย

          3. ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้ ถุงแบบนี้ความจริงมีมานานแล้ว  ถุงพลาสติกแบบนี้จะผสมสารย่อยสลาย ซึ่งก็จะแทรกตัวอยู่ในโมเลกุลของเม็ดพลาสติก สารย่อยสลายนี้เมื่อเจอกับแสดงแดดก็จะทำปฏิกิริยากับเม็ดพลาสติก ให้โมเลกุลแตกสลาย ถุงแบบนี้จะใช้เวลา 1 ปีในการย่อยสลาย โดยจะเห็นได้ว่า ความเหนียวของถุง จะลดลงเรื่อยๆ จนไม่เหลือเลย



ข้อดีของการใช้ถุงผ้า 

          ถ้าคนเราใช้ถุงผ้าสัปดาห์ละ 1 วันจะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุงต่อปี ข้อดีของการใช้ถุงผ้ามีดังนี้  

          •  ซักทำความสะอาดได้โดยง่าย 
          •  นุ่มสบายมือน่าใช้ และไม่ก่อให้เกิดการกดทับอย่างรุนแรงต่อฝ่ามือเท่าถุงพลาสติก 
          •  ใช้ง่ายขาดยาก ตกแต่งได้ตามสไตล์ที่ชอบ 
          •  ย่อยสลายได้ ไม่ตกค้างจนเป็นปัญหาในสิ่งแวดล้อม 
          •  ทนทานและใช้ซ้ำได้มากครั้งกว่าถุงพลาสติก 
          •  ช่วยลดปริมาณมูลฝอย ไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 
          •  ช่วยลดปัญหาโลกร้อน 
          •  บ่งบอกภาวะรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้ 
          •  ใช้ถุงผ้าไปได้ทุกที่ ใส่ได้หลายอย่าง 
          •  ใช้เป็นสื่อรณรงค์เสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง 
          •  ถุงผ้าดิบจะช่วยลดการเกิดและการปนเปื้อนของสารประกอบไดอ๊อกซินที่เป็นสารก่อมะเร็งที่มีอันตรายต่อชีวิต 
          •  พกพาติดตัวได้ง่าน และติดรถ พร้อมใช้งานในทุกโอกาส 
          •  ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

          เริ่มใช้ถุงผ้าตั้งแต่วันนี้ และแบ่งปันถุงผ้าที่มีอยู่แก่ผู้อื่น เพื่อขยายวงกว้างของความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน


 
ลดใช้ถุงพลาสติก ลดภาวะโลกร้อน


การใช้ถุงกระดาษ

[ดูภาพทั้งหมดในหมวด
มาตรการควบคุมการใช้ถุงพลาสติกในต่างประเทศ 

          จากความร้ายแรงของภัยถุงพลาสติก ทำให้หลายๆ ประเทศมีมาตรการคุมกำเนิดถุงพลาสติกกันอย่างจริงจัง จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี เช่น

          • การประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกในบังกลาเทศ และออสเตรเลีย
          • การเก็บภาษีถุงพลาสติกในไอร์แลนด์
          • การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกของไต้หวัน
          • การแขวนการ์ดไว้ที่แคชเชียร์ของห้างใหญ่ในเมืองฮิโรชิม่า ที่ญี่ปุ่น ถ้าลูกค้าไม่ต้องการถุง ก็ยกการ์ดขึ้น แล้วจะได้รับแต้มสะสมเพื่อสิทธิประโยชน์จากทางห้างต่อไปด้วย
          • ที่สิงคโปร์ ร่วมกันรณรงค์ โดยกำหนดให้วันพุธแรกของเดือนเป็นวันพกถุงช้อปปิ้ง หากไม่ได้เตรียมถุงไปก็ต้องจ่ายเงินเป็นค่าถุง ใบละ 0.1 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 2.50 บาท
          • ซานฟรานซิสโก ออกกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติก นับเป็นเมืองแรกของอเมริกา ประเทศที่ถือเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากที่สุด 
          • การประกาศตัวเป็นเมืองปลอดถุงพลาสติกของเมืองลีฟเรปิดส์ ในแคนาดา ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษเป็นค่าปรับหนักๆ คิดเป็นเงินไทยมากถึง 30,200 บาท
          • ส่วนในบ้านเรายังเป็นการรณรงค์ในลักษณะประปราย ที่เคยจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งใหญ่ๆ ก็เมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน จากนั้นกระแสก็ซาไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปีนี้ และที่น่าจะเป็นความหวังคือการพัฒนาวัสดุทดแทน “พลาสติกชีวภาพ” (bioplastic) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษา ไม่แน่ว่าบ้านเราอาจจะมีพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ พร้อมๆ กับที่ฝรั่งเศส ซึ่งออกกฎระเบียบให้เริ่มใช้พลาสติกชีวภาพ ในปี 2553

          ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นทั้งแนวคิด และแรงกระตุ้นให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในบ้านเรา ทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะซุปเปอร์สโตร์ข้ามชาติที่มีสาขาทั่วประเทศ และกำลังซื้อจากลูกค้ามหาศาล ร้านสะดวกซื้อขนาดย่อมที่กระจายอยู่แทบทุกซอยในกรุงเทพ และตัวเมืองของทุกจังหวัด จับมือกันสร้างกระแสนี้ให้เป็นจริงในเมืองไทย

          จะให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ๆ ตัวที่เราทำได้ หรือจะปล่อยให้เป็นเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราไม่เคยคิดจะทำ คำตอบอยู่ที่ใจคุณ

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://guru.sanook.com/pedia/spedia.php

ลดอุณหภูมิโลก ลดการบริโภค 

www.thaivolunteer.org

คนไทยร่วมใจใช้ถุงผ้า
www.greenleafthai.org

ร่วมมือจุดปลี่ยน ลด งด ใช้ถุงพลาสติก
http://developed-thailand.blogspot.com

"ไม่เอาถุง" กู้โลกร้อน ?? โดย : Whiskas
http://webboard.mthai.com/7/2007-08-29/342384.html

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

Re: งานศิลปะชุดใหม่

เอกสารนี้ถูกนำเข้ามายัง Google Documents ในชื่อของคุณ:
http://docs.google.com/Doc?id=dcgbc9mf_295d2sf53wf&invite=
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ทีม Google Documents

งานศิลปะชุดใหม่

งานศิลปะชุดใหม่เอี่ยมอ่องของคริส จอร์แดน (Chris Jordan)  ชื่อว่า  Running the Number    
งานภาพถ่ายชุดนี้เป็นที่โจษขานอย่างมากในหมู่นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในรอบหลายปีที่ผ่านมา  
ซึ่งไม่บ่อยนักที่งานภาพถ่ายจะถูกนักสิ่งแวดล้อมนำไปต่อยอดกันอย่างมากมายขนาดนี้  

งานภาพถ่ายซีรี่ย์นี้เป็นบิ๊กไอเดียที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 
2006  จนถึงปัจจุบัน  
คริส จอร์แดนเรียกงานของเขาว่าเป็น  An American Self-Portrait 
เป็นการมองวัฒนธรรมร่วมสมัยของอเมริกาผ่านคมเลนส์ที่ฉาบไว้ด้วยข้อมูลทางสถิติ  
หัวใจของงานชุดนี้ก็คือ การแปลงตัวเลขเกือบนามธรรมให้กลายเป็นภาพที่แสน จะเป็นรูปธรรม 

คริสมองว่า   ปัญหาสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้เกิดจากการที่พวกเราร่วมมือร่วมใจกันสร้างปัญหาคนละไม้ คนละมือโดยไม่รู้ตัว
ผลกระทบเล็กๆ ที่เราก่อทิ้งไว้นั้น ไม่มีใครคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่โต เพราะเราเห็นแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมือ เรา
แต่เราไม่เคยรู้เลยว่า เมื่อมันถูกนำไปรวมกับผลกระทบเล็กๆ จากมือคนอื่นแล้วสุดท้ายมันยิ่งใหญ่ขนาดไหน 
ข้อมูลอย่าง คนอเมริกันใช้ถุงพลาสติก   60,000  ใบทุก  5  วินาที  
ถึงจะฟังดูใหญ่ยิ่ง แต่มันก็เป็นเพียงตัวเลขบนกระดาษที่ยากจะจินตนาการตามว่ามันมากมายแค่ไหน  
คริสก็เลยเปลี่ยนตัวเลขเหล่านั้นให้เป็นภาพถ่ายขนาดใหญ่ยักษ์  
ให้เห็นกันไปเลยว่าถุงพลาสติก  60,000  ใบมันเยอะแค่ไหน  
ดูแล้วไม่ช็อกก็ไม่รู้จะว่ายังไง  

ความสนุกของการดูงานชุดนี้ก็คือ การตั้งคำถามกับภาพขนาดใหญ่ก่อนว่า มันคืออะไร  

จากนั้นก็ค่อยๆ ซูมเข้าไปทีละนิด ทีละนิด  
แล้วเดากันไปเรื่อยว่าภาพที่เห็นตรงหน้าคืออะไร  
พอร้องอ๋อ ก็รับข้อมูลกันไปว่า มนุษย์เราบริโภคทรัพยากรกันมากมายเพียงใด  
ลองมาดูตัวอย่างกันสักหน่อยไหมครับ   
 


.  



.  




ภาพของขวดน้ำพลาสติก   2,000,000  ใบ เท่ากับจำนวนขวดน้ำพลาสติกที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ทุก   นาที 

 


.  



.  




ภาพของกระป๋องอะลูมิเนียม   106,000  ใบ เท่ากับจำนวนที่กระป๋องที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาทุก   30  วินาที 


.  



.  




ภาพของโทรศัพท์มือถือ   426,000  เครื่อง เท่ากับจำนวนโทรศัพท์มือถือที่ถูกทิ้งในสหรัฐอเมริกาในแต่ละวัน 


.  



.  



  

ภาพของตุ๊กตาบาร์บี้  
32,000  ตัว เท่ากับจำนวนของผู้ที่ผ่าตัดเสริมหน้าอกในแต่ละเดือนของสหรัฐอเมริก า ในปี   2006  
  

.  



.  



.  




ภาพของเศษพลาสติก  2.4  ล้านชิ้น เท่ากับจำนวนขยะจากพลาสติกจำนวน  2.4  ล้านปอนด์ ที่ถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทรทั่วโลก ในแต่ละชั่วโมง  
พลาสติกทั้งหมดที่นำมาใช้ในงานนี้ถูกเก็บมาจากมหาสมุ ทรแปซิฟิก  
  
นอกจากนี้ก็ยังมีภาพอีกมากมายหลายประเด็น อาทิ  
ภาพแก้วน้ำพลาสติก  1,000,000  ใบ ซึ่งเท่ากับจำนวนแก้วน้ำพลาสติกที่ใช้ในเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาทุก  6  ชั่วโมง  
ภาพของกระดาษที่ใช้ในสำนักงาน  30,000  รีม ซึ่งเท่ากับจำนวนที่ใช้ในสำนักงานในสหรัฐอเมริกา ทุก  5  นาที  
ภาพยูนิฟอร์มของนักโทษ  2.3  ล้านตัว ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้ถูกจองจำในคุกของสหรัฐอเมริกาในปี  2005  ถือว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีนักโทษถูกคุมขังมากที่สุดในโลก  
ภาพของธนบัตรใบละ  100  ดอลลาร์ จำนวน  125,000  ใบ ซึ่งเท่ากับงบประมาณที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช้ในสงครามอิรัก ในแต่ละชั่วโมง 

ภาพของข้อมูลของคริสเป็นสิ่งที่น่าตกใจ  
แต่สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าก็คือ นี่เป็นแค่ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวเท่านั้น 
ถ้าว่ากันทั้งโลก ข้อมูลจะน่าตื่นตะลึงกว่านี้เพียงใด  
สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก อาจไม่ได้เล็กอย่างที่คิดก็ได้  
ต้องขอบคุณคริส จอร์แดนที่ทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่   

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

25 วิธีการประหยัดพลังงาน

1.            ปลายปี 2540 ประเทศไทย มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลอยู่ทั้งหมด 2.1 ล้านคัน
รถยนต์แต่ละคันใช้น้ำมันเฉลี่ยวันละ100บาท
ถ้ารถทุกคันงดการใช้รถยนต์เหล่านี้สัปดาห์ละ 1 วัน จะสามารถประหยัดค่าน้ำมันได้
= 2.1 ล้านคัน x 100 บาท = 210 ล้านบาท/สัปดาห์ = ประหยัดเงิน 10,920 ล้านบาท/ปี

 (210 ล้านบาท x 52 สัปดาห์)

2.            ประเทศไทยมีครัวเรือนรวมประมาณ12ล้านครัวเรือน
หากแต่ละครอบครัวช่วยกันปิดไฟ 1 ดวง (หลอดไส้ 60 วัตต์) เป็นเวลา 1 วัน 
เราจะประหยัดไฟได้ 4 ล้าน กิโลวัตต์-ชั่วโมง/วัน=(60 วัตต์ x 6 ชม* x 12 ล้านครัวเรือน)
ค่าผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 1 หน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) คือ 2.2 บาท 
(รวมค่าพลังงานที่ใช้และการก่อสร้างโรงไฟฟ้า)
การประหยัดไฟ 4 ล้านหน่วย/วัน จึงคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 8.8 ล้านบาท/วัน

หรือ3,212ล้านบาทต่อปี=(8.8ล้านบาทxวัน)
โดยที่ ครอบครัวหนึ่งเปิดหลอดไส้ ประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน

3.            การลดการใช้น้ำคนละ 1 แก้ว/วัน ประเทศไทยจะสามารถประหยัดน้ำได้ 30,000 ตัน/วัน

=(0.5ลิตรx60ล้านคน)หรือเท่ากับน้ำ11,000ล้านลิตร/ปี
เนื่องจากต้นทุนการผลิตน้ำประปาคือ 8.60* บาท/ลูกบาศก์เมตร (หรือ 8.60 บาท/1,000 ลิตร)
การลดการใช้น้ำ 1 แก้วทุกวัน จะประหยัดเงินได้ 94.6 ล้านบาท/ปี= (11 ล้านตัน x 8.6 บาท/หน่วย)
* ข้อมูลจาก กองเผยแพร่ การประปานครหลวง

4.            ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมันฟรีๆ 200 ซีซี

5.            ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่าๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล 700 เมตร

6.            ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่าเบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี  ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง 350 เมตร

7.            ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 70-80กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า

8.            ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมงสำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5

9.            ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10

10.        ควรปลูกต้นไม้รอบๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้นให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ 12,000 บีทียู

11.        ซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก 1 ตัวกับซัก 20 ตัว ก็ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่าๆ กัน

12.        เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก 5 นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย 5 นาทีเพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้

13.        อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องเมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 35-40และถ้าหากปิดหน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 60

14.        ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถเพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋องหรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตรต่อการล้างหนึ่งครั้ง

15.        ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์  จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์แต่ละครั้ง สูญเสียพลังงานถึง 7 บาท

16.        หากคนไทยทุกคน ทั้ง 14 ล้านครัวเรือน ช่วยกันประหยัดพลังงานทุกวัน ก็จะสามารถลดใช้พลังงานได้ตามเป้าหมายสูงถึง 5,900 ล้านบาท จากปริมาณการใช้พลังงานโดยรวม 22,000 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นเงิน 59,000 ล้านบาท

17.        ปิดไฟฟ้า 1 ดวง หรือ ถอดหลอดไฟที่ไม่ใช้ออก จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,519 ล้านบาท/ปี

18.        ตั้งอุณหภูมิ เครื่องปรับอากาศที่ 25 องศา จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10% และปิดก่อนเลิกใช้ 30 นาที หรือลดเวลาการเปิดแอร์ 30 นาที สามารถลดใช้พลังงานได้ 6% ซึ่งสามารถ ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 2,642 ล้านบาท/ปี

19.        ตั้งตู้เย็นห่างผนัง 15 เซนติเมตร จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10% ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,642 ล้านบาท/ปี

20.        ปิดโทรทัศน์เมื่อไม่มีคนดู หรือเลือกใช้โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้ว แทน 20 นิ้ว จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,642 ล้านบาท/ปี

21. ขับรถในความเร็วที่กฎหมายกำหนด หากขับรถด้วยความเร็ว 90 กม./ชม. แทนการขับรถด้วยความเร็ว 110 กม./ชม. จะประหยัด น้ำมันได้ 25% คิดเป็นเงิน 800 บาทต่อเดือนต่อคัน หรือ 9,600 บาทต่อปีต่อ คัน ถ้ารถยนต์จำนวน 7 ล้านคันทั่วประเทศ ขับรถตามกฎหมายกำหนด ประเทศชาติจะประหยัดเงินได้ไม่น้อยกว่า 67,000 ล้านบาท ต่อปี

22. ตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำ การตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ปีละ 1 ครั้ง สามารถ ประหยัดน้ำมันได้ 10% คิดเป็นเงิน ที่ ประชาชนประหยัดได้ 250 บาทต่อเดือนต่อคัน คิดเป็นจะประหยัดได้ถึงปีละ 3,000 บาท หากรถยนต์เบนซิน จำนวน 3 ล้านคันใน ประเทศไทย ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว จะช่วยชาติจะประหยัดเงินได้ 9,000 ล้านบาทต่อปี

23. เติมลมยางไม่ขาดไม่เกิน ตรวจเช็คความดันลมยางสม่ำเสมออย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือทุกๆระยะทาง 500 กิโลเมตร เพราะหากความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานทุกๆ 1 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มร้อยละ 2

24. หมั่น ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ควรทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 2-4 สัปดาห์ หรือทุกๆ 2,500 กิโลเมตร เพราะถ้าไส้ กรองไม่สะอาดแล้วจะทำให้รถยนต์กินน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

25.     ไม่ขับ ก็ดับเครื่อง ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถเป็นเวลานาน เพราะการติดเครื่องยนต์จอดรถเป็นเวลาเพียง 10 นาที จะเสียน้ำมันไปฟรีๆ 200-400 ซีซี หรือเสีย เงินราว 3.35-7.75 บาท


25 วิธีการประหยัดพลังงาน

1.            ปลายปี 2540 ประเทศไทย มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลอยู่ทั้งหมด 2.1 ล้านคัน
รถยนต์แต่ละคันใช้น้ำมันเฉลี่ยวันละ100บาท
ถ้ารถทุกคันงดการใช้รถยนต์เหล่านี้สัปดาห์ละ 1 วัน จะสามารถประหยัดค่าน้ำมันได้
= 2.1 ล้านคัน x 100 บาท = 210 ล้านบาท/สัปดาห์ = ประหยัดเงิน 10,920 ล้านบาท/ปี

 (210 ล้านบาท x 52 สัปดาห์)

2.            ประเทศไทยมีครัวเรือนรวมประมาณ12ล้านครัวเรือน
หากแต่ละครอบครัวช่วยกันปิดไฟ 1 ดวง (หลอดไส้ 60 วัตต์) เป็นเวลา 1 วัน 
เราจะประหยัดไฟได้ 4 ล้าน กิโลวัตต์-ชั่วโมง/วัน=(60 วัตต์ x 6 ชม* x 12 ล้านครัวเรือน)
ค่าผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 1 หน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) คือ 2.2 บาท 
(รวมค่าพลังงานที่ใช้และการก่อสร้างโรงไฟฟ้า)
การประหยัดไฟ 4 ล้านหน่วย/วัน จึงคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 8.8 ล้านบาท/วัน

หรือ3,212ล้านบาทต่อปี=(8.8ล้านบาทxวัน)
โดยที่ ครอบครัวหนึ่งเปิดหลอดไส้ ประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน

3.            การลดการใช้น้ำคนละ 1 แก้ว/วัน ประเทศไทยจะสามารถประหยัดน้ำได้ 30,000 ตัน/วัน

=(0.5ลิตรx60ล้านคน)หรือเท่ากับน้ำ11,000ล้านลิตร/ปี
เนื่องจากต้นทุนการผลิตน้ำประปาคือ 8.60* บาท/ลูกบาศก์เมตร (หรือ 8.60 บาท/1,000 ลิตร)
การลดการใช้น้ำ 1 แก้วทุกวัน จะประหยัดเงินได้ 94.6 ล้านบาท/ปี= (11 ล้านตัน x 8.6 บาท/หน่วย)
* ข้อมูลจาก กองเผยแพร่ การประปานครหลวง

4.            ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ แค่จอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ 10 นาที ก็เสียน้ำมันฟรีๆ 200 ซีซี

5.            ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่าๆ ถึง 100 ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถสามารถวิ่งได้ไกล 700 เมตร

6.            ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่าเบิ้ลเครื่องยนต์ การกระทำดังกล่าว 10 ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง 50 ซีซี  ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ตั้ง 350 เมตร

7.            ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็ว 70-80กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ 2,000-2,500 รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า

8.            ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมงสำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5

9.            ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10

10.        ควรปลูกต้นไม้รอบๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้นให้ความเย็นเท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ 12,000 บีทียู

11.        ซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก 1 ตัวกับซัก 20 ตัว ก็ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่าๆ กัน

12.        เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก 5 นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย 5 นาทีเพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้

13.        อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องเมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 35-40และถ้าหากปิดหน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 60

14.        ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถเพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋องหรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตรต่อการล้างหนึ่งครั้ง

15.        ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์  จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์แต่ละครั้ง สูญเสียพลังงานถึง 7 บาท

16.        หากคนไทยทุกคน ทั้ง 14 ล้านครัวเรือน ช่วยกันประหยัดพลังงานทุกวัน ก็จะสามารถลดใช้พลังงานได้ตามเป้าหมายสูงถึง 5,900 ล้านบาท จากปริมาณการใช้พลังงานโดยรวม 22,000 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นเงิน 59,000 ล้านบาท

17.        ปิดไฟฟ้า 1 ดวง หรือ ถอดหลอดไฟที่ไม่ใช้ออก จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,519 ล้านบาท/ปี

18.        ตั้งอุณหภูมิ เครื่องปรับอากาศที่ 25 องศา จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10% และปิดก่อนเลิกใช้ 30 นาที หรือลดเวลาการเปิดแอร์ 30 นาที สามารถลดใช้พลังงานได้ 6% ซึ่งสามารถ ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 2,642 ล้านบาท/ปี

19.        ตั้งตู้เย็นห่างผนัง 15 เซนติเมตร จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10% ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,642 ล้านบาท/ปี

20.        ปิดโทรทัศน์เมื่อไม่มีคนดู หรือเลือกใช้โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้ว แทน 20 นิ้ว จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,642 ล้านบาท/ปี

21. ขับรถในความเร็วที่กฎหมายกำหนด หากขับรถด้วยความเร็ว 90 กม./ชม. แทนการขับรถด้วยความเร็ว 110 กม./ชม. จะประหยัด น้ำมันได้ 25% คิดเป็นเงิน 800 บาทต่อเดือนต่อคัน หรือ 9,600 บาทต่อปีต่อ คัน ถ้ารถยนต์จำนวน 7 ล้านคันทั่วประเทศ ขับรถตามกฎหมายกำหนด ประเทศชาติจะประหยัดเงินได้ไม่น้อยกว่า 67,000 ล้านบาท ต่อปี

22. ตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำ การตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ปีละ 1 ครั้ง สามารถ ประหยัดน้ำมันได้ 10% คิดเป็นเงิน ที่ ประชาชนประหยัดได้ 250 บาทต่อเดือนต่อคัน คิดเป็นจะประหยัดได้ถึงปีละ 3,000 บาท หากรถยนต์เบนซิน จำนวน 3 ล้านคันใน ประเทศไทย ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว จะช่วยชาติจะประหยัดเงินได้ 9,000 ล้านบาทต่อปี

23. เติมลมยางไม่ขาดไม่เกิน ตรวจเช็คความดันลมยางสม่ำเสมออย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือทุกๆระยะทาง 500 กิโลเมตร เพราะหากความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานทุกๆ 1 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มร้อยละ 2

24. หมั่น ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ควรทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุกๆ 2-4 สัปดาห์ หรือทุกๆ 2,500 กิโลเมตร เพราะถ้าไส้ กรองไม่สะอาดแล้วจะทำให้รถยนต์กินน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

25.     ไม่ขับ ก็ดับเครื่อง ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถเป็นเวลานาน เพราะการติดเครื่องยนต์จอดรถเป็นเวลาเพียง 10 นาที จะเสียน้ำมันไปฟรีๆ 200-400 ซีซี หรือเสีย เงินราว 3.35-7.75 บาท


วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

Funny Quote of the Day

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก