เอกสารนี้ถูกนำเข้ามายัง Google Documents ในชื่อของคุณ:
http://docs.google.com/Doc?id=dcgbc9mf_295d2sf53wf&invite=
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ทีม Google Documents
วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553
งานศิลปะชุดใหม่
งานศิลปะชุดใหม่เอี่ยมอ่องของคริส จอร์แดน (Chris Jordan) ชื่อว่า Running the Number
งานภาพถ่ายชุดนี้เป็นที่โจษขานอย่างมากในหมู่นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ซึ่งไม่บ่อยนักที่งานภาพถ่ายจะถูกนักสิ่งแวดล้อมนำไปต่อยอดกันอย่างมากมายขนาดนี้
งานภาพถ่ายซีรี่ย์นี้เป็นบิ๊กไอเดียที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2006 จนถึงปัจจุบัน
คริส จอร์แดนเรียกงานของเขาว่าเป็น An American Self-Portrait
เป็นการมองวัฒนธรรมร่วมสมัยของอเมริกาผ่านคมเลนส์ที่ฉาบไว้ด้วยข้อมูลทางสถิติ
หัวใจของงานชุดนี้ก็คือ การแปลงตัวเลขเกือบนามธรรมให้กลายเป็นภาพที่แสน จะเป็นรูปธรรม
คริสมองว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้เกิดจากการที่พวกเราร่วมมือร่วมใจกันสร้างปัญหาคนละไม้ คนละมือโดยไม่รู้ตัว
ผลกระทบเล็กๆ ที่เราก่อทิ้งไว้นั้น ไม่มีใครคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่โต เพราะเราเห็นแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมือ เรา
แต่เราไม่เคยรู้เลยว่า เมื่อมันถูกนำไปรวมกับผลกระทบเล็กๆ จากมือคนอื่นแล้วสุดท้ายมันยิ่งใหญ่ขนาดไหน
ข้อมูลอย่าง คนอเมริกันใช้ถุงพลาสติก 60,000 ใบทุก 5 วินาที
ถึงจะฟังดูใหญ่ยิ่ง แต่มันก็เป็นเพียงตัวเลขบนกระดาษที่ยากจะจินตนาการตามว่ามันมากมายแค่ไหน
คริสก็เลยเปลี่ยนตัวเลขเหล่านั้นให้เป็นภาพถ่ายขนาดใหญ่ยักษ์
ให้เห็นกันไปเลยว่าถุงพลาสติก 60,000 ใบมันเยอะแค่ไหน
ดูแล้วไม่ช็อกก็ไม่รู้จะว่ายังไง
ความสนุกของการดูงานชุดนี้ก็คือ การตั้งคำถามกับภาพขนาดใหญ่ก่อนว่า มันคืออะไร ?
จากนั้นก็ค่อยๆ ซูมเข้าไปทีละนิด ทีละนิด
แล้วเดากันไปเรื่อยว่าภาพที่เห็นตรงหน้าคืออะไร
พอร้องอ๋อ ก็รับข้อมูลกันไปว่า มนุษย์เราบริโภคทรัพยากรกันมากมายเพียงใด
ลองมาดูตัวอย่างกันสักหน่อยไหมครับ
.
.
ภาพของขวดน้ำพลาสติก 2,000,000 ใบ เท่ากับจำนวนขวดน้ำพลาสติกที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ทุก 5 นาที
.
.
ภาพของกระป๋องอะลูมิเนียม 106,000 ใบ เท่ากับจำนวนที่กระป๋องที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาทุก 30 วินาที
.
.
ภาพของโทรศัพท์มือถือ 426,000 เครื่อง เท่ากับจำนวนโทรศัพท์มือถือที่ถูกทิ้งในสหรัฐอเมริกาในแต่ละวัน
.
.
ภาพของตุ๊กตาบาร์บี้ 32,000 ตัว เท่ากับจำนวนของผู้ที่ผ่าตัดเสริมหน้าอกในแต่ละเดือนของสหรัฐอเมริก า ในปี 2006
.
.
.
ภาพของเศษพลาสติก 2.4 ล้านชิ้น เท่ากับจำนวนขยะจากพลาสติกจำนวน 2.4 ล้านปอนด์ ที่ถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทรทั่วโลก ในแต่ละชั่วโมง
พลาสติกทั้งหมดที่นำมาใช้ในงานนี้ถูกเก็บมาจากมหาสมุ ทรแปซิฟิก
นอกจากนี้ก็ยังมีภาพอีกมากมายหลายประเด็น อาทิ
ภาพแก้วน้ำพลาสติก 1,000,000 ใบ ซึ่งเท่ากับจำนวนแก้วน้ำพลาสติกที่ใช้ในเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาทุก 6 ชั่วโมง
ภาพของกระดาษที่ใช้ในสำนักงาน 30,000 รีม ซึ่งเท่ากับจำนวนที่ใช้ในสำนักงานในสหรัฐอเมริกา ทุก 5 นาที
ภาพยูนิฟอร์มของนักโทษ 2.3 ล้านตัว ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้ถูกจองจำในคุกของสหรัฐอเมริกาในปี 2005 ถือว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีนักโทษถูกคุมขังมากที่สุดในโลก
ภาพของธนบัตรใบละ 100 ดอลลาร์ จำนวน 125,000 ใบ ซึ่งเท่ากับงบประมาณที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช้ในสงครามอิรัก ในแต่ละชั่วโมง
ภาพของข้อมูลของคริสเป็นสิ่งที่น่าตกใจ
แต่สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าก็คือ นี่เป็นแค่ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวเท่านั้น
ถ้าว่ากันทั้งโลก ข้อมูลจะน่าตื่นตะลึงกว่านี้เพียงใด
สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก อาจไม่ได้เล็กอย่างที่คิดก็ได้
ต้องขอบคุณคริส จอร์แดนที่ทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่
ซึ่งไม่บ่อยนักที่งานภาพถ่ายจะถูกนักสิ่งแวดล้อมนำไปต่อยอดกันอย่างมากมายขนาดนี้
งานภาพถ่ายซีรี่ย์นี้เป็นบิ๊กไอเดียที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2006 จนถึงปัจจุบัน
คริส จอร์แดนเรียกงานของเขาว่าเป็น An American Self-Portrait
เป็นการมองวัฒนธรรมร่วมสมัยของอเมริกาผ่านคมเลนส์ที่ฉาบไว้ด้วยข้อมูลทางสถิติ
หัวใจของงานชุดนี้ก็คือ การแปลงตัวเลขเกือบนามธรรมให้กลายเป็นภาพที่แสน จะเป็นรูปธรรม
คริสมองว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้เกิดจากการที่พวกเราร่วมมือร่วมใจกันสร้างปัญหาคนละไม้ คนละมือโดยไม่รู้ตัว
ผลกระทบเล็กๆ ที่เราก่อทิ้งไว้นั้น ไม่มีใครคิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่โต เพราะเราเห็นแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมือ เรา
แต่เราไม่เคยรู้เลยว่า เมื่อมันถูกนำไปรวมกับผลกระทบเล็กๆ จากมือคนอื่นแล้วสุดท้ายมันยิ่งใหญ่ขนาดไหน
ข้อมูลอย่าง คนอเมริกันใช้ถุงพลาสติก 60,000 ใบทุก 5 วินาที
ถึงจะฟังดูใหญ่ยิ่ง แต่มันก็เป็นเพียงตัวเลขบนกระดาษที่ยากจะจินตนาการตามว่ามันมากมายแค่ไหน
คริสก็เลยเปลี่ยนตัวเลขเหล่านั้นให้เป็นภาพถ่ายขนาดใหญ่ยักษ์
ให้เห็นกันไปเลยว่าถุงพลาสติก 60,000 ใบมันเยอะแค่ไหน
ดูแล้วไม่ช็อกก็ไม่รู้จะว่ายังไง
ความสนุกของการดูงานชุดนี้ก็คือ การตั้งคำถามกับภาพขนาดใหญ่ก่อนว่า มันคืออะไร ?
จากนั้นก็ค่อยๆ ซูมเข้าไปทีละนิด ทีละนิด
แล้วเดากันไปเรื่อยว่าภาพที่เห็นตรงหน้าคืออะไร
พอร้องอ๋อ ก็รับข้อมูลกันไปว่า มนุษย์เราบริโภคทรัพยากรกันมากมายเพียงใด
ลองมาดูตัวอย่างกันสักหน่อยไหมครับ
.
.
ภาพของขวดน้ำพลาสติก 2,000,000 ใบ เท่ากับจำนวนขวดน้ำพลาสติกที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ทุก 5 นาที
.
.
ภาพของกระป๋องอะลูมิเนียม 106,000 ใบ เท่ากับจำนวนที่กระป๋องที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาทุก 30 วินาที
.
.
ภาพของโทรศัพท์มือถือ 426,000 เครื่อง เท่ากับจำนวนโทรศัพท์มือถือที่ถูกทิ้งในสหรัฐอเมริกาในแต่ละวัน
.
.
ภาพของตุ๊กตาบาร์บี้ 32,000 ตัว เท่ากับจำนวนของผู้ที่ผ่าตัดเสริมหน้าอกในแต่ละเดือนของสหรัฐอเมริก า ในปี 2006
.
.
.
ภาพของเศษพลาสติก 2.4 ล้านชิ้น เท่ากับจำนวนขยะจากพลาสติกจำนวน 2.4 ล้านปอนด์ ที่ถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทรทั่วโลก ในแต่ละชั่วโมง
พลาสติกทั้งหมดที่นำมาใช้ในงานนี้ถูกเก็บมาจากมหาสมุ ทรแปซิฟิก
นอกจากนี้ก็ยังมีภาพอีกมากมายหลายประเด็น อาทิ
ภาพแก้วน้ำพลาสติก 1,000,000 ใบ ซึ่งเท่ากับจำนวนแก้วน้ำพลาสติกที่ใช้ในเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาทุก 6 ชั่วโมง
ภาพของกระดาษที่ใช้ในสำนักงาน 30,000 รีม ซึ่งเท่ากับจำนวนที่ใช้ในสำนักงานในสหรัฐอเมริกา ทุก 5 นาที
ภาพยูนิฟอร์มของนักโทษ 2.3 ล้านตัว ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้ถูกจองจำในคุกของสหรัฐอเมริกาในปี 2005 ถือว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีนักโทษถูกคุมขังมากที่สุดในโลก
ภาพของธนบัตรใบละ 100 ดอลลาร์ จำนวน 125,000 ใบ ซึ่งเท่ากับงบประมาณที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช้ในสงครามอิรัก ในแต่ละชั่วโมง
ภาพของข้อมูลของคริสเป็นสิ่งที่น่าตกใจ
แต่สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าก็คือ นี่เป็นแค่ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวเท่านั้น
ถ้าว่ากันทั้งโลก ข้อมูลจะน่าตื่นตะลึงกว่านี้เพียงใด
สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก อาจไม่ได้เล็กอย่างที่คิดก็ได้
ต้องขอบคุณคริส จอร์แดนที่ทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Funny Quote of the Day
ผู้ติดตาม
คลังบทความของบล็อก
-
►
2011
(61)
- ► กุมภาพันธ์ (4)
-
▼
2010
(44)
- ► กุมภาพันธ์ (16)