วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

แจ้งเกิด"ห้องสมุดดิจิตอลโลก"ในนามยูเอ็น




คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
เจมส์ บิลลิงตัน (James Billington) บรรณารักษ์ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

บรรยากาศการเปิดตัวที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส

ตัวอย่างเอกสารภาษาอาหรับที่ถูกนำมาแสดงในห้องสมุดดิจิตอลโลก

ตัวอย่างภาพถ่ายขนาดใหญ่ที่มีในห้องสมุดดิจิตอลโลก ขอบคุณภาพจากเอเอฟพี

ห้องสมุดดิจิตอลโลกหรือ World Digital Library เปิดตัวแล้วอย่างเป็นทางการที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก (UNESCO) ที่กรุงปารีส เปิดกว้างให้ประชากรโลกสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้หลากรู้แบบทั้งหนังสือ แผนที่ เมนูสคริปต์ ภาพยนตร์ และรูปภาพได้ฟรีไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่มุมไหนบนโลกกลมๆใบนี้
       
       นี่คือห้องสมุดดิจิตอลเสรีขนาดใหญ่แห่งที่ 3 แล้วนับตั้งแต่โลกได้รู้จักบริการสแกนหนังสือเพื่อการค้นหาของกูเกิล Google Book Search และโครงการองค์ความรู้ออนไลน์ของสหภาพยุโรป (EU) นาม Europeana สำหรับโครงการห้องสมุดดิจิตอลโลกที่เปิดให้บริการในนามสหประชาชาตินี้เปิด ให้บริการที่ wdl.org ให้ประชากรโลกได้เข้าชมภาพวาดและข้อมูลวัตถุโบราณของจีน ศิลปะเปอร์เซีย ไปจนถึงหลักฐานประวัติศาสตร์จากภาพถ่ายในพื้นที่ลาตินอเมริกาโดยไม่เสียค่า ใช้จ่ายใดๆ
       
       โครงการนี้มีเจมส์ บิลลิงตัน (James Billington) บรรณารักษ์ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน และโคอิชิโร มัตซุอุระ (Koichiro Matsuura) ผู้อำนวยการทั่วไปยูเนสโกดำเนินงานร่วมกัน บนจุดประสงค์เพื่อให้ประชากรโลกเข้าถึงข้อมูลจากห้องสมุดและแหล่งข้อมูลทั่ว โลกได้อย่างทั่วถึง เน้นการเผยแพร่ข้อมูลซีกโลกตะวันออก เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างสองวัฒนธรรมที่ดีขึ้น และช่วยให้คณาจารย์ทั่วโลกมีแหล่งค้นหาข้อมูลการสอนใหม่ๆที่ถูกต้องและครบ ถ้วน
       
       ผู้ที่รับหน้าที่ให้บริการโครงการนี้คือองค์การวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการศึกษาของสหประชาชาติหรือ UN Educational, Scientific and Cultural Organization ร่วมกับสถาบันพันธมิตรอีกกว่า 32 แห่ง ผู้พัฒนาคอนเทนท์ภายในคือห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯหรือ US Library of Congress ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ เริ่มทดสอบโครงการตั้งแต่ปี 2007 หรือ 2 ปีที่แล้ว ให้บริการ 7 ภาษาหลักของโลก ได้แก่ ภาษาอาหรับ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส รัสเซีย และภาษาสเปน โดยมีข้อมูลทางวัฒนธรรมเพิ่มเติมในภาษาอื่นจาก 19 สถาบันวัฒนธรรมและห้องสมุดทั่วโลกด้วย เช่น สถาบันจากประเทศบราซิล อังกฤษ จีน อียิปต์ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกา
       
       รายงาน ระบุว่าข้อมูลที่ worlddigitallibrary.org ได้จากสถาบันเหล่านี้ไม่ใช่ข้อมูลพิเศษที่สถาบันมอบให้กับ worlddigitallibrary.org รายเดียว แต่ก็เป็นข้อมูลที่มีความละเอียดเหมาะแก่การค้นคว้าของผู้เชี่ยวชาญ โดยคณะทำงานตั้งความหวังว่าจะขยายเขตความร่วมมือให้ครอบคลุม 60 ประเทศในปีนี้ เช่นสถาบันในโมร็อคโค ยูกันดา แมกซีโก และสโลวาเกีย ที่ได้ตกลงเซ็นเอ็มโอยูในการทำงานร่วมกันในโครงการนี้แล้ว
       
       อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถือว่าแจ้งเกิดช้าเนื่องจากบริษัทเอกชนอย่างกูเกิลได้เปิดตัว บริการค้นหาหนังสือออนไลน์ลักษณะคล้ายกับห้องสมุดโลกแล้วในชื่อ Google Book Search ตั้งแต่ปี 2004 มีการสแกนหนังสือกว่า 7 ล้านเล่มและอัปโหลดขึ้นไปเก็บไว้ใน books.google.com บนความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ แต่แล้วกูเกิลก็ต้องปวดหัวกับปัญหาลิขสิทธิ์หนังสือทั้งจากผู้เขียนและสำนัก พิมพ์ของสหรัฐฯเอง กระทั่งต้องเสียเงินยอมความไปกว่า 125 ล้านเหรียญและดำเนินการเจรจาเพื่อยุติปัญหาที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี
       
       สรุปผลการเจรจาของกูเกิลและเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือที่เกิดขึ้นใน เดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าหนังสือที่เป็นสมบัติสาธารณะ จะเปิดให้ผู้ใช้กูเกิลดาวน์โหลดหนังสือได้ทั้งเล่ม ขณะที่หนังสือสงวนลิขสิทธิ์จะเปิดให้ผู้ใช้ชมฟรีได้ 20 เปอร์เซ็นต์ของหนังสือ ซึ่งหากต้องการใช้เพิ่มเติมจะต้องชำระเงินให้เจ้าของลิขสิทธิ์ วิธีการนี้เป็นที่พอใจของสำนักพิมพ์และผู้แต่งหนังสือเนื่องจากสามารถหาราย ได้ทั้งในแง่การขายและการโฆษณา
       
       ปลายปี 2006 ยักษ์ใหญ่ซอฟต์แวร์อย่างไมโครซอฟท์ (Microsoft) ออกมาเปิดตัวโครงการห้องสมุดเช่นกัน แต่กลับประกาศยกเลิกโครงการไปใน 18 เดือนถัดมาทั้งที่ได้สแกนหนังสือไปแล้วกว่า 750,000 เล่มซึ่งแปลว่าไมโครซอฟท์ยอมถอยทัพให้กูเกิลแต่โดยดี
       
       โครงการสาธารณะที่ถือว่าเป็นทางเลือกอื่นนอกจาก Google Books คือโครงการห้องสมุดดิจิตอลของสหภาพยุโรปนาม Europeana ให้บริการที่ www.europeana.eu มีกำหนดการทดสอบบริการถึงปี 2010 ปัจจุบันมีผู้ชมราว 40,000 คนต่อวัน เปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงสื่อสาธารณะ 4.6 ล้านชิ้น เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ ภาพวาด ภาพถ่าย เสียง แผนที่ เมนูสคริปต์ และหนังสือพิมพ์เก่าซึ่งถูกเก็บในนานาห้องสมุดของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป คาดว่าจะมีสื่อสาธารณะถูกสแกนและอัปโหลดเพิ่มเป็น 10 ล้านชิ้นในปี 2010
       
       Company Related Links :
       WorldDigitalLibrary

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์22 เมษายน 2552 14:32 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Funny Quote of the Day

ผู้ติดตาม